Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

Project News

2014-03-28

นักวิจัยไทย-ญี่ปุ่นร่วมสรุปวิธีการวิจัยด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based Research)

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 คุณยูมิโกะ มิยาชิตะ ผู้เชี่ยวชาญระยะสั้นไจก้า จากมหาวิทยาลัยซึกุบะ เดินทางมาประเทศไทยและเข้าพบ ศาตราจารย์ สุทธิชัย จิตตะพันธ์กุล เพื่อหารือถึงข้อสรุปวิธีการวิจัย โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ ได้ข้อสรุปอันเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการทำวิจัยของโครงการ ถึงแม้ว่า การประชุมผู้จัดการการดูแลซึ่งเดิมกำหนดจัดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง

ในโครงการ LTOP ศาสตราจารย์ สุทธิชัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้ง ศาสตราจารย์ ทามิยะ จาก มหาวิทยาลัยซึกุบะ ได้ร่วมกันทำวิจัยด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based) รวมทั้งยังได้มีการแบ่งปันข้อมูลในหัวข้อ “ วิธีประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริการดูแลใหม่ในประเทศไทย” โดยที่ผู้เชี่ยวชาญไจก้าและกระทรวงสาธารณสุขร่วมหารือและทบทวนประเด็นต่างๆ รวมถึงความหสายของประสิทธิผล สรุปว่า ตัวชี้วัดที่สำคัญที่จะนำมาใช้ในการวิจัยมีดังนี้ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ภาระการดูแล สถานภาพทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ความพึงพอใจในการรับบริการ ซึ่งเครื่องมือในการชี้วัดประกอบด้วย แฟ้มบุคคลที่ได้รับการดูแลระยะยาว แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ โดยจะชี้นำในเชิงปริมาณและให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 กลุ่ม (ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลในครอบครัว ผู้จัดการการดูแล ผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่รัฐส่วนท้องถิ่น)

Photoคุณมิยาชิตะ และ ศาตราจารย์ สุทธิชัย หาข้อสรุปของวิธิการวิจัย

Photoแบบสอบถามสำหรับการชี้วัดประสิทธิผลของรูปแบบการบริการต้นแบบ (ฉบับสมบูรณ์)

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency