Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

Project News

2013-08-30

การสัมมนากลุ่มหารือด้านนโยบาย ครั้งที่ 1

โครงการ LTOP ได้จัดตั้งคณะทำงานที่เรียกว่า “ กลุ่มหารือด้านนโยบาย” ได้รับการยืนยันเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการครั้งที่ 2 โดยกลุ่มหารือด้านนโยบายจะประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องจากทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น ซึ่งมีภารกิจในการหารือด้านนโยบายการดูแลผู้สูงอายุโดยตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ สมาชิกกลุ่มได้วางแผนจัดการประชุมปีละ 2 ครั้งเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะทางด้านโยบายสำหรับการดูแลระยะยาวของรัฐบาลไทย โดยครั้งนี้ การสัมมนากลุ่มหารือด้านนโยบายได้ถูกจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2556 ในประเทศไทย

การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากฝ่ายไทย ซึ่งเป็นตัวแทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน รวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย มหาวิทยาลัยในประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และมหาวิทยาลัยมหิดล( รวมทั้งข้าราชการส่วนท้องถิ่นจากพื้นที่นำร่องทั้ง 6 จังหวัดของโครงการ ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นนั้นมีผู้เข้าร่วมจากทั้งกระทรวงสุขภาพ แรงงาน และสวัสดิการ เจ้าหน้าที่จากจังหวัดวากายามะ ไจก้าสำนักงานใหญ่ และมหาวิทยาลัยซึกุบะ ร่วมสำรวจข้อมูลพื้นฐานกับทางโครงการ LTOP เพื่อการอภิปรายกับฝ่ายไทย

จุดประสงค์หลักของการจัดสัมมนา “เพื่อทำความเข้าใจในโยบายการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยให้ชัดเจนมากขึ้น” โดยในวันแรกของการสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากฝ่ายญี่ปุ่นได้ลงพื้นที่ในจังหวัดนนทบุรีเพื่อสังเกตการณ์และเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีความต้องการการดูแลระยะยาว และเยี่ยมชมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพที่กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นศูนย์บริการแบบไปเช้า-เย็นกลับ (Day Care Service Center) ในอนาคต (สำหรับผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมตามแผนการดูแลรายบุคคล) ในการนี้ทางฝ่ายญี่ปุ่นได้ชื่นชมการทำงานของชุมชนในประเทศไทยว่า“ประเทศไทยมีการดำเนินงานโดยใช้ทรัพยากรในชุมชนซึ่งไม่ใช่ในรูปแบบทางการได้อย่างดีเยี่ยม เช่นในเรื่องของการมีอาสาสมัครที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางญี่ปุ่นต้องการที่จะเรียนรู้จากไทย”

ในวันที่สอง สมาชิกทุกคนยังคงเข้าร่วมการสัมมนา ณ ห้องประชุม กระทรวงสาธารณสุข เพื่อหารือด้านนโยบาย หลังการนำเสนอรายงานเกี่ยวกับระบบการประกันและนโยบายการดูแลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นและนโยบายในประเทศไทยแล้ว ลำดับต่อมาศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยซึกุบะได้นำเสนอข้อมูลเรื่องการเปรียบเทียบระหว่างประเทศด้านนโยบายการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเน้นให้เห็นลักษณะระบบนโยบายจากแต่ละประเทศ ต่อมาในช่วงบ่าย ผู้เข้ารับการอบรมซึ่งได้เข้าร่วมอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น ที่ผ่านมา ได้นำเสนอแผนการดำเนินการ (ข้อมูลผู้สูงอายุ ความร่วมมือจากภาคเอกชน การปรับปรุงการเข้าถึงบริการ ฯลหลัง จากนั้น ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แยกกลุ่มอภิปรายออกเป็น 4 กลุ่ม ตามหัวข้อเรื่องดังนี้ (1) นโยบายผู้สูงอายุ (2) บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (3) ผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาว (4) การบริการการดูแล หลังจากที่ทุกกลุ่มได้ทำการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว นายแพทย์ชาญวิทย์ จากกระทรวงสาธารณสุข กล่าวสรุปว่าจากการดำเนินงานของทุกกลุ่ม จะเห็นได้ว่าขณะนี้ยังคงเป็นเพียงแนวความคิดของกิจกรรมการดำเนินการ และยังไม่สามารถที่จะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ดังนั้น เราควรจะผลักดันโครงร่างการดำเนินงานนี้ให้สามารถนำไปใช้ได้จริง และควรมีการหารือด้านยุทธศาสตร์ที่จำเป็นต่อประเทศไทยด้วย

การประชุมสัมมนาครั้งนี้ทำให้สมาชิกโครงการตระหนักและเตรียมพร้อมสำหรับการสัมมนาในครั้งที่ 2 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในเดือน มีนาคม 2557 ต่อไป

Photoภาพการประชุมในวันที่ 2

Photoและการอภิปรายกลุ่ม

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency