Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

Project News

2014-02-05

การประชุมเริ่มต้นการวิจัยตามหลักฐานเชิงประจักษ์

Photoนายแพทย์สุทธิชัย อธิบายถึง “แฟ้มบุคคลสำหรับการดูแลระยะยาวในชุมชน”

โครงการ LTOP ได้เตรียมดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลทั่วไปเพื่อวัดประสิทธิผลของรูปแบบการให้บริการการดูแลผู้สูงอายุเพื่อศึกษาและปรับปรุงระบบรูปแบบบริการตามหลักฐานข้อเท็จจริง นักวิจัยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวทั้งไทยและญี่ปุ่นได้มีการประชุมหารือในหลายด้าน เช่น หลักจริยธรรมในการศึกษาและสำรวจในประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวัตถุวิสัยและจิตวิสัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับการดำเนินงาน

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ทางโครงการได้จัดการประชุมชี้แจงเพื่อเริ่มดำเนินการสำรวจ ณ ห้องประชุมสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้อธิบายและชี้แจงนโยบายการสำรวจ วิธีการสำรวจ และกำหนดการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลให้กับสมาชิกคณะทำงานได้รับทราบ

ทั้งนี้ นายแพทย์สุทธิชัยได้กล่าวว่า มีเพียงไม่กี่โครงการที่ดำเนินงานวัดประสิทธิผลของโครงการ พร้อมทั้งปรับปรุงรูปแบบการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ โดยอ้างอิงตามหลักฐานข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ดั้งนั้นโครงการที่ได้ดำเนินอยู่นี้นับเป็นโครงการที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง จากนั้น น.พ.สุทธิชัยได้นำเสนอ "แฟ้มข้อมูลบุคคลสำหรับการดูแลระยะยาวในชุมชน" ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือใหม่ที่จะถูกนำมาใช้ในการวัดผลการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่และยังง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูลของผู้จัดการการดูแล (Care manager) อีกด้วย

แฟ้มดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำหรับผู้จัดการการดูแลในการจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ โดยผู้ทำการสำรวจสามารถหาข้อมูลผู้สูงอายุได้จากแฟ้มดังกล่าวนี้ และดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพิ่มเติมโดยการใช้แบบสอบถามควบคู่ไปด้วย หลังจากนั้น ผู้ทำการสำรวจจะนำข้อมูลดังกล่าวจากแต่ละพื้นที่ไปจัดกิจกรรมในรูปแบบการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม (Focus group interview) เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์ผลป้อนกลับ (Feedback Analysis) ทั้งนี้เพื่อจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละพื้นที่ และเพื่อการปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

นายแพทย์สุทธิชัยนำเสนอภาพรวมของวิธีการวิจัยดังตารางด้านล่าง;

ภาพรวมของวิธีการวิจัย (อ้างอิง ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557)

พื้นที่นำร่อง 6 พื้นที่ ตัวชี้วัด วิธีการเก็บข้อมูล
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง (The Frail Elderly) สภาวะความต้องการการดูแลระยะยาว (เช่น ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน), สถานะทางเศรษฐกิจ,คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจต่อการบริการ แฟ้มข้อมูลบุคคลสำหรับการดูแลระยะยาวในชุมชน แบบสอบถาม
ผู้ดูแล (Care giver) ภาระการดูแล,คุณภาพชีวิต,ทักษะความรู้ในการดูแล,ความพึงพอใจต่อการบริการ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม
ผู้จัดการการดูแล (Care manager) ทักษะด้านการจัดการ,ความพึงพอใจต่อการบริการ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Workers) ทักษะด้านการดูแล,ความพึงพอใจในการบริการ ปริมาณงาน (เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล) แบบสอบถาม ตารางการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม
เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น (Local Government officers) ความพึงพอใจต่อการบริการ การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม

ในที่ประชุมนายแพทย์สุทธิชัยได้เสนอแนวทางในการสำรวจเก็บข้อมูลว่า การสำรวจข้อมูลไม่ใช่เป็นเพียงการอิงหลักฐานข้อเท็จจริง แต่ควรมีการส่งข้อมูลและผลลัพธ์การเรียนรู้กลับไปยังแต่ละพื้นที่ด้วย และในลำดับต่อไปช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทางโครงการจะจัดประชุมโดยเชิญผู้จัดการการดูแลจากแต่ละพื้นที่เข้าร่วม เพื่อรับฟังการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลบุคคลสำหรับการดูแลระยะยาวในชุมชน รวมทั้งกระบวนการสำรวจที่มีการวางแผนการดำเนินการไว้ให้ทราบโดยทั่วกัน

Photoศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิชัย, คุณเอะโนะโมโตะ (ประธานในที่ประชุม) และผู้เข้าร่วมประชุม ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency