Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

ข่าวสารของโครงการ

2015-03-24

การรายงานและนำเสนอ “ผลการสำรวจเพื่อติดตามและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริการต้นแบบโครงการ LTOP ครั้งที่ 1” ณ การสัมมนาด้านการดูแลระยะยาวภายใต้โครงการ LTOP ประจำปี พ.ศ. 2558

ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2558 ทีมสำรวจของโครงการ LTOP ได้ลงพื้นที่โครงการนำร่องทั้ง 6 แห่ง เพื่อติดตามและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริการต้นแบบที่ได้ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นการลงประเมินและติดตามเป็นครั้งแรกนับแต่เริ่มให้บริการ ทั้งนี้ ในการสัมมนาของโครงการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2558 ได้มีการรายงานและนำเสนอผลการสำรวจติดตามและประเมินผลดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ณ ห้องประชุมสำนักงานไจก้าประจำประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากทั้งไทยและญี่ปุ่น โดยทางฝั่งไทยประกอบไปด้วย ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พื้นที่โครงการกรุงเทพมหานคร พื้นที่โครงการจังหวัดนนทบุรี รวม 23 คน และจากฝั่งญี่ปุ่นอีก 13 คน ซึ่งมาจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย สำนักงานใหญ่ไจก้าประจำกรุงโตเกียว และสำนักงานไจก้าประจำประเทศไทย รวมผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น 36 คน

ในการสัมมนา คุณปาริฉัตร สมาชิกหลักของทีมสำรวจจากกระทรวงสาธารณสุข ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่ได้จาก 6 พื้นที่โครงการ (สถานการณ์การให้บริการในปัจจุบัน ค่าตอบแทนสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ) พร้อมรายงานผลการสำรวจที่มุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุที่ดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการใช้แผนการดูแลในการให้บริการกับผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงการสำรวจของโครงการในครั้งต่อไปด้วย

สรุปข้อมูลการสำรวจประสิทธิผลของโครงการ LTOP ครั้งที่ 1 (โดยสังเขป)

พื้นที่/ กำหนดการลงพื้นที่สำรวจ จำนวนผู้สูงอายุ จำนวน ผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัว จำนวน ผู้จัดการการดูแล จำนวน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
นครราชสีมา (22-23 มกราคม) 23 23 3 14
นนทบุรี (3-4 กุมภาพันธ์) 32 32 4 7
กรุงเทพมหานคร (12 – 13 กุมภาพันธ์) 18 18 4 14
เชียงราย (17-18 กุมภาพันธ์) 29 29 5 31
สุราษฎร์ธานี (27 กุมภาพันธ์) 16 16 6 13
ขอนแก่น (4-5 มีนาคม) 27 27 4 5

ในการสัมมนา ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

1 . มุมมองเพิ่มเติม (ต่อคำเสนอแนะด้านนโยบาย)

  • คำถามต่อประเด็นผู้จัดการการดูแล/ ผู้ดูแลผู้สูงอาย
  • → ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ในจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้หรือไม่? หรือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถดูแลผู้สูงอายุแต่ละรายได้ในระยะเวลาที่มากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่? ทางทีมโครงการน่าจะถามคำถามประเด็นเรื่องประสิทธิผลในการดำเนินงานที่เป็นผลมาจากโครงการ LTOP/ แผนการดูแล (ญี่ปุ่น)

    → ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถให้บริการตามแผนการดูแลได้มากน้อยเพียงใด? ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องการความรู้หรือทักษะใดเพิ่มเติมที่จำเป็นต่อการให้บริการ? (ไทย)

    → หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราต้องทำให้เป็นมาตรฐานคือ การให้คำนิยามและการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการการดูแลและผู้ดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยให้ชัดเจน (ไทย)

  • ประเด็นเรื่องความยั่งยืน
  • → เราจะรักษาระบบอาสาสมัครซึ่งเป็นระบบที่ดีอยู่แล้วของไทยไปพร้อมๆ กับการเพิ่มให้มีผู้จัดการการดูแลและผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบที่ต้องมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ตาม ได้อย่างไร (ไทย/ญี่ปุ่น)

    → เสนอแนะให้มีการจัดทำคู่มือแนวทางสำหรับอาสาสมัครในการให้การบริการดูแล (ไทย)

    → เราสามารถที่จะเก็บข้อมูลของผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ได้หรือไม่ (ญี่ปุ่น)

    → ในการสำรวจครั้งต่อไปควรติดตามเรื่องประสิทธิผลของแผนการดูแลที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของ ADL ที่ดีขึ้นด้วย (ญี่ปุ่น)

  • มุมมองด้านเศรษฐกิจ/ ต้นทุน
  • → มีความแตกต่างระหว่างพื้นที่ขอนแก่นที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุกับพื้นที่อื่นๆ หรือไม่อย่างไร? เราสามารถที่จะเก็บข้อมูลจากผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวได้หรือไม่ว่าผู้ดูแลเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อรับบริการที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน? เราสามารถที่จะเปรียบเทียบต้นทุนการให้การดูแลโดยผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวกับการให้การดูแลโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุได้หรือไม่อย่างไร? (ไทย)

    → มุมมองในเชิงพาณิชย์/ด้านเศรษฐกิจ ตามที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่อาจจะมีการหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์เป็นประเด็นถัดไปในภายหลัง

2. การนำเสนอ/แสดงข้อมูลให้มีความน่าสนใจ (เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ)

  • แสดงข้อมูลเชิงเปรียบเทียบของแต่ละพื้นที่โครงการ/ ความแตกต่างระหว่างพื้นที่เขตเมือง-ชนบท (ไทย/ญี่ปุ่น)
  • แสดงให้เห็นภาพของความถี่ในการให้บริการที่บ้านโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุและการพัฒนาที่ดีขึ้นของ ADL (ไทย)
  • เราน่าจะค้นหา "วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด" ของแต่ละพื้นที่โครงการเพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ที่จะมีการเผยแพร่ต่อไปในอนาคต (ไทย)
  • ในระบบการดูแลแบบใหม่ของประเทศไทย ส่วนตัวคิดว่าสิ่งที่จำเป็นมากๆ คือ การให้ความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวและอาสาสมัคร จึงคิดว่าทางทีมน่าจะลองดูเรื่องการแสดงข้อมูลบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลในเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วย ตัวอย่างเช่น นำเสนอข้อมูลว่าครอบครัวมีส่วนช่วยให้ ADL ของผู้สูงอายุดีขึ้นหรือไม่อย่างไร (ญี่ปุ่น)
  • แสดงสภาวะทางด้านสุขภาพหรือสาเหตุที่ผู้สูงอายุต้องได้รับการพึ่งพิง เพื่อดูสาเหตุหลักและป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุต้องเข้าสู่ระบบที่ต้องการการดูแลระยะยาว (ไทย)

ความคิดเห็นอื่นๆ

  • ควรมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้ ADL ดีขึ้น (นอกเหนือจากแผนการดูแล) ในเชิงลึก เพื่อดูว่ามีปัจจัยอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้องอีกบ้าง เช่น บริการเฉพาะบางอย่าง แรงใจจากคนในครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ไทย/ญี่ปุ่น)
  • ควรมีการวิเคราะห์เป็นรายกรณีที่ล้มเหลวเพื่อดูว่าทำไมกรณีนี้จึงไม่ประสบผลสำร็จตามแผนการดูแล

นอกจากนี้ ในการสัมมนายังได้มีการนำเสนอกิจกรรมที่ทางโครงการได้มีการดำเนินการไปแล้ว รวมทั้งกิจกรรมที่จะดำเนินการในระยะต่อไป ซึ่งรวมไปถึงประเด็นการหารือในเนื้อหาและหัวข้อการอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังจะจัดให้มีขึ้นด้วย ทั้งนี้ โครงการ LTOP จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ได้มีการวางแผนและได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จากการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อไป

Photoกล่าวเปิด โดย คุณโอซึรุ จากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ

Photoคุณปาริฉัตรนำเสนอผลการสำรวจติดตามประเมินโครงการ


Photoถ่ายภาพร่วมกัน

Photoลงพื้นที่นนทบุรี (วันที่ 23: วันก่อนสัมมนา)

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency