Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

ข่าวสารของโครงการ

2015-06-03

รายงานการทบทวนการดำเนินโครงการระยะกลาง (Mid-term Review Report)

ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ทางโครงการ LTOP ได้จัดให้มีการทบทวนการดำเนินโครงการในระยะกลาง

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อประเมินประสิทธิภาพ และกระบวนการการดำเนินงานของโครงการ โดยการตรวจสอบเอกสารต่างๆของโครงการ และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ
  2. เพื่อร่วมกันทบทวนการดำเนินโครงการ โดยใช้ 5 หลักเกณฑ์การประเมินผล ณ ช่วงกลางของการดำเนินโครงการ และจัดทำรายงานการทบทวนการดำเนินโครงการระยะกลาง
  3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ และบทเรียนที่ได้จากผลการทบทวน เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการในระยะเวลาครึ่งหลังของโครงการ

ทีมทบทวนโครงการญี่ปุ่น ประกอบไปด้วย ผู้แทนองค์การไจก้า ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ โดยได้ทำการวิจัยและสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในการให้บริการการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงใน 6 พื้นที่ของโครงการ จากนั้นทีมทบทวนฝ่ายญี่ปุ่น และฝ่ายไทยได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล และอภิปรายหารือเกี่ยวกับแนวทางและทิศทางในการดำเนินงานสำหรับระยะเวลาครึ่งหลังของโครงการ

ผลการทบทวนมีดังนี้

  1. การบรรลุผลลัพธ์และวัตถุประสงค์ของโครงการ
    ทีมทบทวนได้ข้อสรุปว่า โดยส่วนใหญ่แล้วโครงการสามารถดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้คาดการณ์ว่า หากมีการดำเนินงานโดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวง หน่วยงาน และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อเสนอแนะในผลการทบทวนนี้ในช่วงระยะเวลาครึ่งหลังของโครงการ จะส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ในที่สุด
  2. พิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลทั้งห้า
    1) ความเหมาะสม: "สูง" 2) ประสิทธิผล: "สูง" 3) ประสิทธิภาพ: "ทั่วไป" 4) ผลกระทบ: "จากการสังเกต ปรากฏผลกระทบในเชิงบวก" 5) ความยั่งยืน: "คาดว่าน่าจะมีความยั่งยืนในระดับหนึ่ง"
  3. ข้อเสนอแนะ
    1) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในส่วนกลางควรหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care worker) และ ผู้จัดการการดูแล (care manager) ของโครงการ LTOP เพื่อให้การบริการที่เหมาะสมและยั่งยืน แก่ผู้ที่ต้องการการดูแลในชุมชน คำจำกัดความของแต่ละบุคคลจะต้องได้มาจากการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาพรวมทั้งหมดของระบบการดูแลในชุมชนและบทบาทของแต่ละบุคคลในชุมชน รวมทั้งผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ ครอบครัว สมาชิกในชุมชน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น พยาบาล และนักสังคมสงเคราะห์

    2) เมื่อพิจารณาจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มชึ้น สามารถคาดการณ์ได้ว่าบทบาทของครอบครัวและสภาพทางสังคมจะเปลี่ยนไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในความต้องการการดูแลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อใช้ในการวางแผนระบบการดูแลอย่างยั่งยืนในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับช่วงครึ่งแรกของปีพ.ศ. 2573 – 2582 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อัตราการเติบโตของจำนวนประชากรอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปของไทยจะทะยานถึงจุดสูงสุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหารือกันในระดับชาติเกี่ยวกับระบบการดูแลที่เหมาะสมรวมทั้งการให้ความสำคัญกับจำนวนของผู้ให้บริการตามการประมาณการของตัวเลขจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาวและผู้ให้บริการที่จำเป็นต่อการดูแล

    เพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะข้างต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางจำเป็นต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละพื้นที่ภายใต้โครงการ LTOP เกี่ยวกับการบริการดูแลที่พึงประสงค์ที่เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น รวมถึงมาตรการในการปรับปรุง รูปแบบบริการต้นแบบ (Model services) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในแง่ของความยั่งยืน

    3) ในการสำรวจความมีประสิทธิผลของ รูปแบบการบริการ (Model services) (ที่จะดำเนินการในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2558) ทีมทบทวนเสนอให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์จริงของการให้บริการในพื้นที่โครงการ เช่น ทรัพยากรที่นำมาใช้ ความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ความพึงพอใจและภาระในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัว โดยผลของการสำรวจจะถูกนำมาวิเคราะห์เป็นรายพื้นที่ ส่วนผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำมาใช้พัฒนา รูปแบบการบริการ (Model Service) ในช่วงระยะครึ่งหลังของโครงการและสะท้อนให้เห็นในรูปแบบข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายต่อไป

    4) สำหรับการร่างข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในส่วนกลางจะต้องทำความเข้าใจในกิจกรรมและทิศทางนโยบายที่กำหนดโดยรัฐบาลไทย รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลกลุ่มผู้ให้บริการการดูแล และระบบการดูแลในระดับท้องถิ่น ในขณะเดียวกัน การแบ่งปันข้อมูลกิจกรรมโครงการ LTOP ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่น / บทเรียนที่ได้รับจากข้อเสนอแนะด้านนโยบาย

Photo

Photo

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency