Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

ข่าวสารของโครงการ

2016-07-28

"การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์ต้นทุน" โดย ศาสตราจารย์ฮารูโกะ โนกูจิ จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ

"การวิเคราะห์ต้นทุน" เป็นหนึ่งในปัจจัยนำเข้าที่สำคัญที่สุดของการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ศาสตราจารย์ฮารูโกะ โนกูจิ จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ กำลังวิเคราะห์ต้นทุนของการบริการตามรูปแบบโครงการ LTOP

"การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์ต้นทุน ครั้งที่ 1" ถูกจัดขึ้น ณ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ภายใต้คำแนะนำจากศาสตราจารย์โนกูจิ โครงการ LTOP และกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแบบสอบถามสำหรับ ต้นทุนค่าดำเนินการพื้นที่โครงการ LTOP และต้นทุนค่าเสียโอกาสของผู้ดูแลที่บ้านในโครงการ LTOP ขึ้น และได้ทำการสำราจเก็บรวบรวมข้อมูลใน 6 พื้นที่โครงการ ตั้งแต่เดือนเมษายน – มิถุนายน 2559

จากนั้น ศาสตราจารย์โนกูจิได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม และนำเสนอผลการวิเคราะห์ดังกล่าวใน "การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์ต้นทุน ครั้งที่ 2" ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา

1. ต้นทุนค่าดำเนินการใน 6 พื้นที่โครงการ LTOP

โครงการ LTOP และกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันเก็บข้อมูล 1) ต้นทุนพื้นที่ 2) ต้นทุนทรัพย์สิน 3) ต้นทุนด้านบุคลากร 4) สมุดบัญชี 1 เดือน สำหรับต้นทุนค่าดำเนินการ

ผลของ "ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร" จัดทำโดย ศาสตราจารย์โนกูจิ อันเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุน มีดังต่อไปนี

Photo

PhotoEnlarge (PDF/139KB)

PhotoEnlarge (PDF/122KB)


1) ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรโครงการ LTOP ถูกใช้สำหรับเจ้าหน้าที่วิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่บริหาร และอื่น ๆ) ยกเว้น พื้นที่ขอนแก่น
2) หากพิจารณาตามอาชีพ พบว่า เจ้าหน้าที่ LTOP ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ยกเว้นอาสาสมัคร/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีแนวโน้มอายุอยู่ที่ 50 ปีขึ้นไป (77.89%).
3) หากพิจารณาตามอาชีพ พบว่า เจ้าหน้าที่ LTOP มักมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี แต่อาสาสมัคร/ผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี
4) พิจารณาผลจากการเสื่อมถอย พบว่า เพศ ประสบการณ์การทำงานและอายุ มีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับค่าจ้างต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยของเจ้าหน้าที่พื้นที่ LTOP

2. ต้นทุนค่าเสียโอกาสของผู้ดูแลที่บ้าน

ผู้ดูแลที่บ้านเป็นผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญที่สุดของการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยในขณะนี้ โครงการ LTOP และกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการวิจัย *ต้นทุนค่าเสียโอกาสของผู้ดูแลที่บ้าน โดยมีศาสตราจารย์โนกูจิวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่สำรวจในพื้นที่

*ต้นทุนค่าเสียโอกาส: ต้นทุนค่าเสียโอกาสแสดงถึงผลประโยชน์ที่บุคคลสามารถได้รับ แต่ละทิ้ง เพื่อการทำงานอื่น

Photo

Photo


ต้นทุนค่าเสียโอกาสประมาณการณ์จากค่าจ้างรายชั่วโมง. X จำนวนชั่วโมง ทั้งหมดในการดูแลต่อปี และสำหรับผู้ดูแลที่ไม่สามารถตอบข้อมูลของค่าจ้างต่อชั่วโมง ที่คาดได้ เนื่องจากไม่เคยทำงานในตลาดแรงงานมาก่อน เราจะอ้างอิงค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย (300บาท/วัน)

ผลที่ได้

1) ต้นทุนค่าเสียโอกาสสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่สุราษฎร์ธานีมีแนวโน้มจะสูง และระดับรายได้มักจะค่อนข้างสูง

2) ค่า Log ของค่าเสียโอกาสมักเป็นบวกเมื่อเทียบกับระดับการศึกษา

ศาสตราจารย์โนกูชิยังคงทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ADL (ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน) และบันทึกรูปแบบบริการ (ชั่วโมงการดูแล บริการการดูแล และอื่น ๆ) ของทั้ง 6 พื้นที่ และผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายของการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

Photo


ความคิดเห็นจากศาสตราจารย์โนกูจิ

"ดิฉันหวังว่าการวิเคราะห์ต้นทุนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานของระบบการดูแลระยะยาวในประเทศไทย"

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency