Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

คำอธิบายของโครงการ

ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนารูปแบบบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง รวมทั้งกลุ่มอายุอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน

ประเทศ

ประเทศไทย

ประเภทโครงการ

โครงการความร่วมมือทางวิชาการ

ระยะเวลาโครงการ

14 มกราคม 2556 – 31 สิงหาคม 2560

หน่วยงานที่ดำเนินการ

กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานอื่นๆ ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของโครงการ

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 6.2 ล้านราย คิดเป็น 8.9 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด และเป็นที่คาดการว่าไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในปี 2567 (UN DESA 2009) ซึ่งจะมีจำนวนประชากรผู้สูงวัยมากกว่า 14 % เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติขึ้น อันประกอบไปด้วยกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างยุทธศาสตร์แห่งชาติในด้านสภาวะสูงวัย ในส่วนแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2545 – 2564) ที่ได้มีการทบทวนในปี 2552 ได้ระบุถึงความสำคัญของการจัดตั้งการดูแลระยะยาวที่มีชุมชนเป็นฐานให้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้จริงสำหรับผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นที่รูปแบบการดูแลที่บ้าน รวมไปถึงการดูแลสุขภาพและการบริการทางสังคมไปพร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีช่องว่างระหว่างแนวความคิดพื้นฐานและความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอยู่ ทั้งนี้ กระทรวงที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นยังไม่สามารถหาวิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อลดช่องว่างดังกล่าวได้ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสมด้วย ซึ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เพื่อเป็นการลดความไม่เท่าเทียมในการให้บริการการดูแลและหลีกเลี่ยงความเสื่อมถอยของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

จากการดำเนินงานโครงการ CTOP หรือ "โครงการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการโดยชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ" และการใช้ประสบการณ์อื่นๆ ทำให้รัฐบาลไทยพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ต้องการการดูแลระยะยาว (Long-term care) โดยผู้สูงอายุเหล่านี้มักได้รับการดูแลจากสมาชิกในครอบครัวและอาสาสมัครในชุมชนซึ่งยังไม่สามารถให้การดูแลอย่างเป็นระบบได้ ดังนั้น ระดับการดูแลดังกล่าวจึงไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร ช่องว่างระหว่างการดูแลที่ผู้สูงอายุควรได้รับกับการดูแลที่ผู้สูงอายุได้รับจริงจึงส่งผลให้เกิดปัญหา และนำไปสู่ความตระหนักในเรื่องความเท่าเทียมในการให้บริการการดูแลระยะยาวและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

โครงการนี้ได้รับการริเริ่มขึ้นเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะทางนโยบายโดยอ้างอิงจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงเพื่อลดช่องว่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น ข้อเสนอแนะทางนโยบายจะเป็นดังประเด็นต่อไปนี้

  • ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมหากไม่มีการสนับสนุนทางสังคมในเรื่องการดูแลระยะยาว รวมไปถึงการให้การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลระยะยาว
  • ระบบการให้บริการ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่จำเป็นและเป็นไปได้
  • มุมมองด้านค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของระบบการบริการ
  • มุมมองด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลากรในระบบการบริการ
  • ผลกระทบทางด้านการเงินของระบบการบริการ
  • สภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย (สภาพบ้านเรือน) และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

เป้าหมายโดยรวมของโครงการ

ข้อเสนอแนะทางนโยบายเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระยะได้ถูกสะท้อนให้เห็นในนโยบายของรัฐบาลไทย

วัตถุประสงค์ของโครงการ

ข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเป็นที่ยอมรับทั้งจากกระทรวงและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ (Output)

  1. ข้อเสนอแนะทางนโยบายเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจะถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง ความรู้และประสบการณ์จากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น
  2. รูปแบบการบริการต้นแบบ (Model Services) จะถูกพัฒนาและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนเหมาะสมกับพื้นที่โครงการนำร่อง
  3. แผนงานการอบรมสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานการจัดการดูแลจะถูกพัฒนาขึ้น

กิจกรรมของโครงการ

1: ข้อเสนอแนะทางนโยบาย

1-0 จัดตั้งกลุ่มหารือด้านนโนบาย
1-1 ทบทวนสถานะการบังคับใช้กฎหมายและแผนงานด้านการดูแลระยะยาวในประเทศไทย
1-2 ผู้จัดทำนโยบายและนักวิชาการจากประเทศไทย เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสังเกตการณ์ และประชุมหารือ
เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
1-3 ผู้จัดทำนโยบายและนักวิชาการจากประเทศญี่ปุ่น เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
1-4 จัดการประชุมสัมมนาเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับผู้จัดทำนโยบายและนักวิชาการ
ของฝั่งไทย รวมไปถึงประเด็นเรื่องการจัดการทางด้านการเงิน โดยจะมีบุคคลากรจากทั้งฝั่งไทยและญี่ปุ่นเข้าร่วม
1-5 จากผลลัพธ์ของจากการหารือข้างต้น การลงพื้นที่ การจัดประชุมสัมมนา และรวมไปถึงการพัฒนารูปแบบการให้บริการของ
พื้นที่นำร่อง คณะกรรมการกลุ่มหารือด้านนโยบายฝ่ายไทยจะร่างข้อเสนอแนะทางนโยบายขึ้น
1-6 จัดการประชุมสัมมนาเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวขึ้นในประเทศไทย และนำประสบการณ์ที่ได้รับจาก
โครงการไปเผยแพร่ต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน

2: โครงการนำร่องในการดำเนินงาน "รูปแบบการบริการต้นแบบ"

2-1 ระบุหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการเก็บรวบรวม <C>*
2-2 เลือกพื้นที่โครงการนำร่อง <C และ L>
2-3 ระบุผู้ที่เข้าร่วมโครงการและจัดตั้งคณะทำงานในแต่ละพื้นที่โครงการนำร่อง <L และ C>
2-4 จัดทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในแต่ละพื้นที่ <C และ L>
2-5 ศึกษารายละเอียดของสถานการณ์การให้บริการการดูแลระยะยาวทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่น <C>
2-6 จัดทำร่าง “รูปแบบการบริการต้นแบบ” และร่างคู่มือการดำเนินงาน <C>
2-7 จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับชุมชนเกี่ยวกับร่างรูปแบบในแต่ละพื้นที่ <C และ L>
2-8 ออกแบบและจัดเตรียมการฝึกอบรม สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงาน (ทรัพยากรที่จำเป็น วิทยากร หลักสูตรในการ ฝึกอบรม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ฯลฯ) <C และ L>
*กิจกรรมนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรมตามข้อ 3-1 และ 3-3
2-9 ดำเนินการจัดจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานการจัดการการดูแล <L>
2-10 เตรียมจัดตั้งศูนย์บริการการดูแลต้นแบบในแต่ละพื้นที่ <L และ C>
2-11 จัดอบรมแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงานการจัดการการดูแลในแต่ละพื้นที่ <C และ L>
2-12 จัดบริการการดูแลต้นแบบให้แก่ผู้สูงอายุที่มีความต้องการการดูแลระยะยาว <L และ C>
2-13 ติดตามผลกระทบของ “รูปแบบการบริการต้นแบบ” เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาตามข้อเท็จจริง
ต่อไป <C และ L>
2-14 ติดตามการปฏิบัติการเพื่อนำมาทบทวนคู่มือการดำเนินงาน <C และ L>
2-15 สรุป “รูปแบบการบริการต้นแบบ” โดยอ้างอิงจากผลลัพธ์และประสบการณ์ของพื้นที่โครงการนำร่องทั้งหมด <C และ L>
2-16 วิเคราะห์ผลกระทบของ “รูปแบบการบริการต้นแบบ” โดยอ้างอิงจากข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เก็บรวบรวมจริง <C และ L>
2-17 จัดการประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่อง "รูปแบบการบริการต้นแบบ" <C>

3: การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3-1 ออกแบบและจัดเตรียมการฝึกอบรม สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ประสานงาน (ทรัพยากรที่จำเป็น วิทยากร หลักสูตรใน
การฝึกอบรม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ฯลฯ)
3-2 จัดการฝึกอบรมในประเทศญี่ปุ่นเรื่องการจัดการการดูแลและการบริการการดูแลอย่างเป็นมืออาชีพ ให้กับบุคคลากรทั้งจาก
กระทรวงที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ประสานงานการจัดการดูแลของโครงการในแต่ละพื้นที่
3-3 ออกแบบและจัดเตรียมการฝึกอบรมสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ทรัพยากรที่จำเป็น วิทยากร หลักสูตรในการฝึกอบรม และ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ฯลฯ)
3-4 จัดการอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการภายในประเทศด้านทักษะการดูแลสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้แก่พื้นที่นำร่องของ
โครงการทั้งหมด <C>

"C" หมายถึง กระทรวงและหน่วยงานส่วนกลาง
"L" หมายถึง หน่วยงานส่วนท้องถิ่น
"C และ L" หมายถึง กระทรวงและหน่วยงานส่วนกลางจะดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ โดยได้รับความช่วยเหลือ
จากหน่วยงานส่วนท้องถิ่น

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency