Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

ข่าวสารของโครงการ

2021-09-02

ข่าวประจำเดือน ก.ย. 2564: บทสัมภาษณ์นักศึกษาทุน SATREPS

ทางโครงการได้สัมภาษณ์คุณวิศรุต อัจฉริยวิริยะ นักศึกษาทุน SATREPS[1] ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งได้สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของตน

(ความร่วมมือด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

โดยคุณวิศรุตได้ตอบข้อซักถาม ดังนี้

Photoภาพคุณวิศรุตนำเสนอการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (เอื้อเฟื้อภาพจากมหาวิทยาลัยชูบุ)


คำถามที่ 1 - วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของท่านเกี่ยวกับเรื่อง "การขนส่งฐานบริการที่มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิต" กรุณาอธิบายว่า "การขนส่งฐานบริการที่มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิต" หมายความว่าอะไร?

"ไม่กีปีที่ผ่านมานี้ ท่านน่าจะได้เห็นแล้วว่าได้มีการใข้แอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับการขนส่งกันบ้างแล้ว เช่น แกร็บ (Grab) หรือ อูเบอร์ (Uber) ซึ่งให้บริการขนส่งส่วนบุคคลที่มีความต้องการมากขึ้น และโอเอฟโอ.(OFO) มอเตอร์ไบค์ส (Motorbike) ซึ่งให้บริการขนส่งโดยรถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะ บริการต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งฐานบริการ ซึ่งเป็นแนวคิดการบูรณาการระบบขนส่งที่หลากหลายรูปแบบและบริการที่เกี่ยวเนื่องเข้าไว้ด้วยกันบนแพลตฟอร์มเดียวกัน เช่น บริการข้อมูล บริการการวางแผนการเดินทาง บริการชำระเงิน ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้นให้แก่ประชาชนที่เดินทางโดยการขนส่งสาธารณะ ในการศึกษาของผมนั้น แนวคิดด้านการขนส่งฐานบริการได้ถูกบูรณาการแล้วเข้ากับแนวคิดด้านคุณภาพชีวิตซึ่งให้ความสำคัญกับความรู้สึกที่แตกต่างกันของคนแต่ละคนในการวางแผนการเดินทางเพื่อให้บรรลุถึงคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน"

คำถามที่ 2 - เพราะเหตุใดท่านจึงให้ความสนใจในเรื่องการขนส่งฐานบริการ-คุณภาพชีวิต?

"ผมคิดว่าการพัฒนาระบบที่ให้คำแนะนำด้ายการเดินทาง (เช่น การขนส่งฐานบริการ-คุณภาพชีวิต) เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ เทคโนโลยีทุกวันนี้มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อประชาชนในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเดินทาง คนเรามักจะตรวจดูเวลาและเส้นทางการเดินทางก่อนออกเดินทางเสมอ ดังนี้เอง ถ้าเรามีระบบการให้คำแนะนำที่ดี สิ่งนี้จะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนได้"

คำถามที่ 3 - ประชาชนที่ใช้ระบบการขนส่งฐานบริการที่มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิตจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

"ระบบการขนส่งฐานบริการที่มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิตที่เรากำลังพัฒนากันอยู่นี้รวมถึงกิจกรรมและการติดตามการเดินทางเพื่อวัดคุณภาพชีวิตประจำวันของประชาชน ระบบนี้จะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาวิธีการต่างๆ ที่จะเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของประชาชนเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"

คำถามที่ 4 - เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในประเทศไทย ท่านคิดว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด?

"ในทัศนะของผมนั้น ผมคิดว่าการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพเป็นสิ่งที่สำคัญ กรุงเทพคือเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลก คนกรุงเทพต้องเสียเวลาไปอย่างมากมายเกินความจำเป็นในการเดินทางในแต่ละวัน ทำให้พวกเขาต้องสูญเสียโอกาสที่จะใช้เวลาในการเดินทางไปกระทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ยังทำให้พวกเขาเกิดความเครียดสะสมอันเนื่องมาจากการเดินทางที่ใช้เวลานานในแต่ละวัน ดังนั้น ผมคิดว่าการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดจึงควรที่จะต้องมีการดำเนินการโดยเร่งด่วน"

คำถามที่ 5 - อะไรคือสิ่งที่ท้าทายท่านที่สุดในระหว่างการศึกษาของท่าน?

"สิ่งที่ท้าทายผมอาจบางทีเป็นการเรียนรู้พื้นฐานวิศวกรรมการขนส่ง เพราะปริญญาตรีและปริญญาโทที่ผมได้มานั้นเป็นการเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนั้น การเปลี่ยนมาศึกษาเรียนรู้ด้านการขนส่ง ทำให้ผมต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขนส่ง และต้องรวมความรู้ด้านการขนส่งผนวกเข้ากับความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกันอีกด้วย"

คำถามที่ 6 - ท่านคิดว่าอะไรคือสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในระหว่างการศึกษาวิจัยของท่าน?

"บางทีอาจเป็นสิ่งที่ผมได้เข้ามาศึกษาวิจัยเรื่องการขนส่งและการวางแผนเมือง ผมได้มีโอกาสได้รับรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น ปัญหาในระบบการขนส่งในเชิงลึก การศึกษาวิจัยและหัวข้อการศึกษาวิจัย ซึ่งแตกต่างค่อนข้างมากจากสิ่งที่ผมได้เรียนรู้มาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท"

คำถามที่ 7 - โปรดสรุปการดำเนินชีวิตประจำวันของท่านในระหว่างการเรียนขั้นปริญญาเอกนี้?

"ผมมักจะใช้เวลาเป็นส่วนใหญ่ในห้องแล็บ ผมมักจะเดินเข้าไปในห้องวิจัยที่มหาวิทยาลัยในตอนสาย จากนั้นก็กลับไปที่ห้องพักราว 21.00 น. ช่วงก่อนที่จะมีการระบาดโรคโคโรน่าไวรัส ในระหว่างวันหยุดนั้น ผมจะเดินทางไปในที่ต่างๆ และได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมด้านวิขาการทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศ แต่เมื่อเกิดการระบาดโรคโควิดขึ้น ผมมักจะไม่ค่อยได้ไปไหนเลย"

คำถามที่ 8 - การที่ท่านพำนักอาศัยในประเทศญี่ปุ่น อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดสำหรับท่าน?

"ในญี่ปุ่นนั้น สำหรับผมแล้วผมว่าเป็นประเทศที่มีอากาศดี อีกทั้งประเทศก็สะอาดเป็นระเบียบ และอาหารก็อร่อย ซึ่งทำให้ผมรู้สึกปลอดภัยและมีความสุข แต่ส่วนที่ยากลำบากสำหรับผมก็คือการสื่อสารกับคนญี่ปุ่น เพราะผมยังพูดภาษาญี่ปุ่นได้ไม่ดีนัก"

คำถามที่ 9 - ท่านมีแผนการอย่างไรต่อไปเมือเรียนจบหลักสูตรปริญญาเอกแล้ว มีการตัดสินใจอะไรบ้างแล้วหรือไม่?

"ขณะนี้ผมได้วางแผนที่จะทำงานวิจัยต่อในฐานะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยชูบุครับ"

คำถามที่ 10 - ท่านจะให้คำปรึกษาแนะนำอะไรแก่นักศึกษาไทยที่ต้องการจะไปศึกษาต่อในต่างประเทศในอนาคต?

"ผมจะแนะนำให้พวกเขาเตรียมตัวให้ดีในเรื่องของภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่น เพราะในบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกันมากนัก ถ้าเรารู้ภาษาท้องถิ่นในประเทศที่เราไปศึกษาเป็นอย่างดี สิ่งนี้จะช่วยให้เราเรียนและเดินทางได้อย่างสนุกสนานครับ"

Photoดร.วิศรุตในวันพิธีมอบปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิต (เอื้อเฟื้อภาพจากมหาวิทยาลัยชูบุ)

Photoภาพถ่ายพิธีมอบปริญญาบัตรร่วมกับศาสตราจารย์ฮายาชิ (ซ้าย) และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
ศาสตราจารย์มูโตะ (ขวา) (เอื้อเฟื้อภาพจากมหาวิทยาลัยชูบุ)


Note

  • [1] SATREPS=Science and Technology Research Partnership for Sustainable Development

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency