Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

ข่าวสารของโครงการ

2022-01-26

ข่าวประจำเดือน ม.ค. 2565: การประชุมสัมมนาร่วมระหว่างประเทศญี่ปุ่น-ประเทศไทย-ประเทศอินเดียว่าด้วยสังคมคาร์บอนต่ำ

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 โครงการยุทธศาสตร์ระบบขนส่งอัจฉริยะสำหรับประเทศไทย 4.0 ร่วมกับโครงการในประเทศอินเดีย ได้จัดการประชุมสัมมนาออนไลน์ร่วมกับสถาบันวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย และประเทศอินเดีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำให้เป็นจริง วัตถุประสงค์ของทั้งสองโครงการคือเพื่อเสนอยุทธศาสตร์การขนส่งอัจฉริยะเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเมืองต่างๆ รวมถึงการเสนอวิธีแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักโดยอาศัยข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารล่าสุด การประชุมสัมมนานี้มุ่งที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างโครงการทั้งสอง โดยมีการอภิปรายและหาแผนการดำเนินการเพื่อเสนอผลการวิจัยให้แก่สังคมและสร้างเครือข่ายการวิจัยใหม่ การประชุมสัมมนาครั้งนี้ประกอบไปด้วย 4 ส่วนด้วยกัน คือ 1.บทนำ 2.การประเมินฉากทัศน์ในอนาคต 3.การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และ 4.การอภิปรายกลุ่มถึงความท้าทายในอนาคต ทั้งนี้ได้มีผู้เข้าร่วมการประชุมรวม 114 ท่าน ซึ่งประกอบไปด้วยนักวิจัยจากทั้งสองโครงการ นิสิต นักศึกษา ไจก้า (JICA) และผู้แทนที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและภาคเอกชน

Photo


นักวิจัยจาก "โครงการเมืองอัจฉริยะสำหรับกลุ่มประเทศอุบัติใหม่บนรากฐานของระบบตรวจจับ เครือข่าย และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบการขนส่งภูมิภาคหลากหลายรูปแบบ" (M2Smart Project) ของประเทศอินเดียได้เสนอกิจกรรมต่างๆ โดยกลุ่มคณะทำงานของสถาบันวิจัยเทคโนโลยี Hyderabad บริษัทนาโกยาอิเล็คทริคเวิร์คส และมหาวิทยาลัยนิฮอน ซึ่งได้พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจจับการจราจรในย่านทางแยกต่างๆ โดยใช้โทรทัศน์วงจรปิดที่มีความคมชัดสูงและอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนที่ช่วยให้สามารถตรวจจับยานพาหนะประเภทต่างๆ ได้ เช่น รถลาก ระบบนี้ประกอบไปด้วยการประมวลวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีเครือข่ายขั้นสูง และเครื่องมือบริหารจัดการการจราจรที่มีป้ายแสดงไฟฟ้า เช่น "ระบบป้ายปรับเปลี่ยนข้อความ" (วีเอ็มเอส) เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ได้มีการใช้ในเมือง Hyderabad โดยมุ่งหวังที่จะนำเสนอแนวทางปฏิบัติสำหรับเมืองอัจฉริยะ

ศาสตราจารย์ฮายาชิ หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการของประเทศไทย (มหาวิทยาลัยชูบุ) ได้สรุปถึงวิธีการที่โครงการใช้พัฒนายุทธศาสตร์การขนส่งอัจฉริยะเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ในลำดับต่อมา รศ.ดร. ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)ได้นำเสนอวิธีการประเมินคุณภาพชีวิตเพื่อจัดทำชุดนโยบายสำหรับสุขุมวิทโมเดลและ รศ.ดร. อภิวัฒน์ รัตนวราหะ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้เสนอฉากทัศน์อนาคตและร่างฉากทัศน์สำหรับสุขุมวิทโมเดล

Photo

Photo

Photo

ดร. วิศรุต (มหาวิทยาลัยชูบุ) ได้นำเสนอเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโครงการซึ่งมุ่งปรับปรุงยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมือง คือ การขนส่งฐานบริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต อันจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนเมืองสามารถกระทำได้ดียิ่งขึ้น ศาสตราจารย์โดอิ (มหาวิทยาลัยโอซากา) ได้นำเสนอความคืบหน้าการทดลองใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กอัจฉริยะ (SSVS) ที่ได้มีการทดลองในย่านสุขุมวิท อ.ดร.พิตติพล คันธวัฒน์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้แสดงการคำนวณคะแนนคุณภาพชีวิตโดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ รศ.ดร.วราเมศวร์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ได้เสนอรูปแบบจำลองจุลภาคทั้งในสถานการณ์ก่อนและปัจจุบันในการใช้ที่ดินและการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อบูรณาการเครื่องมือเหล่านี้ให้อยู่บนฐานการทำงานที่สามารถแสดงภาพได้ Visual Platform เดียวกัน ศาสตราจารย์ฟูกูอิ (มหาวิทยาลัยชูบุ)ได้เสนออุปกรณ์ต้นแบบหน้าตาการใช้งานระบบสามมิติซึ่งจะมีส่วนช่วยการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน รวมถึงผู้กำหนดนโยบายในงานขนส่งตัดสินใจได้

Photo

Photo

Photo

Photo

Photo

ในระหว่างการอภิปรายเรื่องความท้าทายในอนาคต ศาสตราจารย์ฮายาชิได้เน้นว่าโครงการนี้เสนอเรื่องความพอเพียงมากกว่าประสิทธิภาพ โดยที่ดัชนีสามารถคำนวณได้จากคุณค่าคุณภาพชีวิตจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม อัตราการปล่อยคาร์บอน ด้วยเหตุนี้เอง ศาสตราจารย์ฮายาชิ จึงได้เสนอการดำเนินงานที่ชัดเจนโดยมีเป้าหมายคือพลเมืองและผู้กำหนดนโยบายตามลำดับ ในทางกลับกัน หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการM2Smart ดร.สึโบอิ ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้นจริงมากกว่าการเน้นองค์ประกอบทางกายภาพในการศึกษาภาคสนามในการดำเนินการขั้นสุดท้ายของโครงการ

Photo

ศาสตราจารย์ธนารักษ์ ธีระมั่นคง หัวหน้าโครงการ (สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) แนะว่าความท้าทายของประเทศไทยคือการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากด้านปัญญาประดิษฐ์นอกเหนือจากที่ได้มีการนำเสนอโดยประเทศต่างๆ รวมถึงการประเมินสถานการณ์หลังยุคโควิด และการพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมอย่างระมัดระวัง ผู้อภิปรายคนสุดท้าย รศ.ดร. อภิวัฒน์แนะว่าประเด็นสำคัญสามประการของทั้งสองโครงการคือ การแก้ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และความไม่เสมอภาคในสังคม ดร.อภิวัฒน์เชื่อว่าสองประเด็นแรกนั้นจะสามารถดำเนินการได้โดยโครงการทั้งสองนี้ แต่ความไม่เสมอภาคนับว่าเป็นประเด็นวิกฤตสำหรับทั้งสองประเทศ ด้วยเหตุที่มีคนมากมายที่ไม่สามารถจะเข้าถึงการให้บริการดิจิทัลอันล้ำยุคได้เนื่องมาจากความไม่เสมอภาคในสังคม เช่น ความยากจน ดร.อภิวัฒน์จึงเสนอว่าช่องว่างทางสังคมควรได้รับการพิจารณาด้วยเมื่อได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มิฉะนั้นแล้วคุณภาพชีวิตของสังคมคงไม่อาจปรับปรุงยกระดับให้ดีขึ้นได้

ตอนท้ายของการประชุมสัมมนา ศาสตราจารย์คามิโมโตะ(JST)เสนอแนะว่าเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิจัยต้องเข้าถึงผู้มีส่วนได้เสียจากภาคนโยบาย และต้องอธิบายผลลัพธ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนในบริบทที่สามารถเช้าใจได้

จากการประชุมสัมมนานี้ได้สร้างเครือข่ายการวิจัยใหม่ที่ส่งเสริมให้เกิดแรงกระตุ้นให้ขยายโครงการใหม่ออกไปในใช้ทั่วทวีปเอเชีย

วิดีโอสรุปการประชุมสัมมนาของโครงการ (M2Smart สามารถรับชมได้ที่

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency