Japan International Cooperation Agency
Share
  • 日本語
  • English
  • Français
  • Espanol
  • Home
  • About JICA
  • News & Features
  • Countries & Regions
  • Our Work
  • Publications
  • Investor Relations

คำอธิบายของโครงการ

ชื่อโครงการ

โครงการยุทธศาสตร์ระบบขนส่งอัจฉริยะสำหรับประเทศไทย 4.0 ( ภาษาไทย )

ประเทศ

ประเทศไทย

วันที่ลงนามความร่วมมือ

วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

ระยะเวลาโครงการ

วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567

หน่วยงานที่ดำเนินการ

1 หน่วยงานฝ่ายไทย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับผิดชอบโครงการภาพรวม รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 3 และ 4
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 1
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 2
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 3
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 4

2 หน่วยงานฝ่ายญี่ปุ่น

  1. Chubu University ตัวแทนหน่วยงานวิจัย รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 3 และ 4
  2. Kagawa University กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 1
  3. Osaka University กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 2
  4. University of Toyama กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 2
  5. Meijo University กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 2
  6. NIPPON ENGINEERING CONSULTANTS CO.,LTD. กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 2
  7. Mitsubishi UFJ Research & Consulting Co.,Ltd. กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 2
  8. University of Tokyo กิจกรรมที่เกี่ยวกับ ผลลัพธ์ที่ 4

3 หน่วยงานสนับสนุนฝ่ายญี่ปุ่น
Japan Science and Technology Agency (JST)

รายชื่อหน่วยงานที่เข้าร่วม(ฝ่ายไทย)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ความเป็นมาของโครงการ

การโดยสารรถยนต์ในชีวิตประจำวันเป็นการใช้พลังงานและปลดปล่อยแก๊สเรืองกระจก (Greenhouse gases, GHGs) เมื่อมีปริมาณแก๊สดังกล่าวเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเรา

การลดปริมาณแก๊สเรืองกระจกและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติอย่างหนึ่ง กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้คนย้ายเข้ามาอยู่อาศัย เกิดการใช้รถส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดตามมา เกิดมลภาวะทางอากาศ การเพิ่มปริมาณแก๊สเรืองกระจกซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ การที่รัฐบาลไทยมีนโยบาย Thailand 4.0 ที่มีแผนสร้าง Smart city โดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเช่น AI มาสร้างเมืองที่มีผลกระทบน้อยต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยดีขึ้น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ สถาบันวิจัยของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจึงร่วมมือกันภายใต้โครงการ SATREPS:Smart Transport Strategy for Thailand 4.0

จุดประสงค์โดยรวม

การเพิ่มคุณภาพการดำเนินชีวิต Quality of Life (QOL)ควบคู่กับการลดคาร์บอน ภายใต้พื้นฐานของกลยุทธ์การขนส่งอัจฉริยะ เพื่อการเติบโตแบบ leapfrog

จุดประสงค์โครงการ

  1. พัฒนาการประเมินแพ็กเกจนโยบาย (policy packages) เพื่อยกระดับคุณภาพการดำเนินชีวิต (QoL) และการลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  2. นำเสนอ Sukhumvit Model ที่เป็นแพ็กเกจนโยบาย

ผลลัพธ์ (Outputs)

  1. สร้างโมเดลการใช้ที่ดินและระบบขนส่งที่ผู้อยู่อาศัยเป็นศูนย์กลาง
  2. เสนอระบบขนส่งอัจฉริยะและการออกแบบเมืองเพื่อให้เกิด Street for All ขึ้นจริง
  3. พัฒนาการใช้ที่ดิน/ระบบขนส่งโดยยึดถือตาม QOL ของผู้อยู่อาศัย
  4. พัฒนา Digital Earth ที่เป็นระบบแสดงข้อมูลพื้นฐาน

กิจกรรมของโครงการ

1-1 ทราบสถานการณ์ปัจจุบันเรื่องที่ดินและระบบขนส่ง
1-2 จัดเตรียมข้อมูลและการหาข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้
1-3 ปรึกษาหน่วยงานภาครัฐของไทยในการสร้างแผนการใช้ที่ดินและระบบขนส่ง
1-4 การสร้างรูปแบบการใช้ที่ดิน/การขนส่ง (จำลองแบบไมโคร)
1-5 การวิเคราะห์สถานการณ์การใช้ที่ดิน / การออกแบบการจราจรที่หลากหลายและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสถานที่ / พฤติกรรมการจราจร
1-6 สร้างเครื่องมือและแนวทางสำหรับการออกแบบการใช้ที่ดินและระบบขนส่ง
2-1 วิเคราะห์นโยบายและสถานการณ์ปัจจุบันของการใช้ที่ดินและการขนส่งในกรุงเทพมหานคร
2-2 ทดลองทางสังคมของบริการขนส่งระดับภูมิภาคในอนาคตโดยใช้การเคลื่อนที่ด้วยรถไฟฟ้าขนาดเล็ก
2-3 พัฒนาแอปพลิเคชันการจัดการการจราจร / ยานพาหนะโดยคำนึงถึงคุณลักษณะส่วนบุคคลและเขตเมือง
2-4 พัฒนาระบบประเมินและออกแบบความสามารถในการเดิน (Walkability) / ความสามารถในการใช้งาน (Usability)
2-5 พัฒนาระบบบริหารจัดการการจราจรโดยใช้บิ๊กดาต้า
2-6 จัดทำแนวทางสำหรับ Street for All
3-1 พิจารณาเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคล
3-2 จัดทำแบบสอบถามความรู้สึกต่อการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัย
3-3 พยากรณ์และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
3-4 ตรวจสอบการประเมิน QOL ของสภาพการจราจรและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
3-5 เสนอกลยุทธ์บูรณาการระบบขนส่งอัจฉริยะ
4-1 พิจารณากรอบการทำงานสำหรับการสร้างภาพข้อมูลการใช้ที่ดินและข้อมูลการจราจรแบบบูรณาการด้วย Digital Earth
4-2 พัฒนาและจัดเตรียม micro geodata เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน
4-3 พัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่บนมือถือ
4-4 พัฒนาระบบโพรบส่วนบุคคลสำหรับการวัดและประเมินผล QOL
4-5 แสดงภาพแบบบูรณาการด้วยระบบ Digital Earth

ความร่วมมือ
[ความร่วมมือจากฝ่ายญี่ปุ่น]

  1. ผู้เชี่ยวชาญระยะยาว (ผู้ประสานงานโครงการ) 60 เดือน
  2. ผู้เชี่ยวชาญระยะสั้น (นักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น)
  3. ครุภัณฑ์
  4. ผู้ฝึกอบรม (การเปิดรับผู้ฝึกอบรมระยะยาว)

ความร่วมมือ
[ความร่วมมือจากฝ่ายไทย]

  1. คู่ความร่วมมือ counterpart
  2. การอนุเคราะห์สถานที่สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
  3. สำหรับดำเนินการโครงการ (ค่าเดินทางภายในประเทศเป็นต้น)
  4. ค่าใช้จ่ายในการใช้งานหรือบำรุงรักษาครุภัณฑ์

เงื่อนไขเบื้องต้น

  1. องค์กรที่เกี่ยวข้องของไทยไม่ลดลำดับความสำคัญของนโยบายเกี่ยวกับปัญหาการขนส่งในเขตเมือง
  2. นโยบาย「Thailand4.0」ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

PAGE TOP

Copyright © Japan International Cooperation Agency